บทนำ 

       นักลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่กำลังเจริญรอยตามวอร์เรน บัฟเฟต หรือนักลงทุนที่พิจารณาหุ้นจากปัจจัยพื้นฐานหลาย ๆ ท่านคงจะประสบปัญหาเหมือน ๆ กันคือ ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหลักทรัพย์( ตลท. )หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์( กลต. )ยังนำไปสู่การตัดสินใจไม่ได้ เช่นข้อมูลของบริษัทแห่งหนึ่งจากเว็บไซต์ของหน่วยงานดังกล่าว





       เมื่อท่านได้พิจารณาแล้วท่านจะพบว่าบริษัทนี้มีอัตราส่วนทางการเงินดีเยี่ยม ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น( ROE )มีค่าสูงและส่วนของผู้ถือหุ้นก็เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ, อัตราส่วนหนี้สินต่อผู้ถือหุ้นและอัตราส่วนหนี้สินต่อกำไรสุทธิมีค่าต่ำมาก หรือกำไรต่อหุ้นก็มีค่าสูงเช่นกัน แต่สุดท้ายแล้วท่านกลับพบคำถามว่า "หุ้นของบริษัทนี้ควรจะซื้อที่ราคาเท่าไหร่?"


       ปัญหาข้างต้นคงจะมีสาเหตุมาจากปัญหาอีกอันคือนักลงทุนยังขาดโมเดลที่ใช้ในการคำนวณมูลค่าหุ้นนั่นเอง ซึ่งเราจะพบว่าตำราที่ใช้ในห้องเรียนไม่อาจไขความกระจ่างได้เท่าที่ควร ส่วนปรัชญาจากผู้ที่ประสบความสำเร็จจากการลงทุนเช่นวอร์เรน บัฟเฟต หรือ เบนจามิน เกรแฮม กลับไม่ถูกบรรจุอยู่ในตำราเรียน แต่เชื่อว่านักลงทุนหลาย ๆ ท่านคงเชื่อถือปรัชญาจากผู้ประสบความสำเร็จมากกว่า ส่วนตำราที่จะอธิบายปรัชญาของนักลงทุนอย่างวอร์เรน บัฟเฟต กลับถูกแปลออกมาสู่ท้องตลาดน้อยมาก "ให้ตายสิ!! จะเป็นนักลงทุนที่ตัดสินใจบนเหตุผลนี่มันยากจริง ๆ"


       โมเดลที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคงหนีไม่พ้นโมเดลของวอร์เรน บัฟเฟต ถ้าจะสรุปให้สั้นที่สุดก็จะประมาณว่า "เป็นการใช้โมเดลสำหรับการลงทุนมาตรฐานเช่นการคำนวณมูลค่าหุ้นกู้ผสมกับการคำนวณมูลค่าหุ้นสามัญมาประยุกต์ใช้ในการคำนวณมูลค่าของกิจการ โดยคาดการณ์กระแสเงินสด( cash flow )ที่เป็นกำไรของเจ้าของ( owner's earning )ในอนาคต แล้วคิดกำไรในอนาคตนั้นนั้นให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน แล้วนำกำไรทุก ๆ ปีมารวมกัน" วิธีการของวอร์เรนนี้ วอร์เรนมีหลักการทางวิชาการและเหตุผลมาสนับสนุนเสมอ


        บล็อกนี้จะพยายามศึกษาและนำมาเรียบเรียง เอามาแบ่งปัน ขอคำชี้แนะจากผู้รู้ทั้งหลาย เพื่อร่วมกันพัฒนาวิทยาการด้านการลงทุนต่อไป

บทนำ

บทที่ 1 เรียกน้ำย่อย 

บทที่ 2 มูลค่าอนาคตและมูลค่าปัจจุบัน

บทที่ 3 วิธีคำนวณมูลค่าหุ้นกู้,พันธบัตรและวิธีคำนวณมูลค่าหุ้นสามัญ 

บทที่ 4 เงินปันผลกับความไม่สมเหตุสมผลในการคำนวณมูลค่าหุ้นสามัญ 

บทที่ 5 กำไรสุทธิพระเอกจอมสับขาหลอก 

บทที่ 6 กำไรของเจ้าของพระเอกตัวจริง 

บทที่ 7 กำไรของเจ้าของบอกมูลค่าของกิจการ