ตัวอย่างการลงทุนที่ยอดเยี่ยมของวอร์เรน ที่ผู้แต่งตำราหลาย ๆ เล่มนิยมนำไปเป็นกรณีศึกษาคือการเข้าลงทุนในบริษัทโคคา-โคล่า

จากตารางเป็นข้อมูลตั้งแต่ปี 1973 ถึง 1992 ที่วอร์เรนนำมาวิเคราะห์ก่อนซื้อหุ้นบริษัทโคคา-โคล่า ลำดับเหตุการณ์ได้ดังนี้
a. วอร์เรนเริ่มซื้อหุ้นบริษัทโคคา-โคล่าเมื่อปี 1988 โดยใช้ข้อมูลย้อนหลังมาตั้งแต่ปี 1973
b. คอลัมน์ที่สอง Annual sales คือยอดขายประจำปี คอลัมน์ที่ 3 คือกำไรสุทธิประจำปี ซึ่งวอร์เรนนำมาปรับแต่งอีกเล็กน้อยเพื่อให้ได้ข้อมูลในคอลัมน์สุดท้าย คือ "กำไรของเจ้าของ" แล้วจึงนำข้อมูลไปใช้
c. วอร์เรนไม่ต้องการกำไรทางบัญชี แต่เขาต้องการกำไรที่เป็นกระแสเงินสดและเรียกมันว่า "กำไรของเจ้าของ" เพราะโมเดลในการคำนวณมูลค่าที่แท้จริงเป็นโมเดลของ "การคำนวณมูลค่าหุ้นกู้ผสมกับการคำนวณมูลค่าหุ้นสามัญ" ซึ่งใช้ผลตอบแทนที่เป็นกระแสเงินสด หลักการอันนี้จะอธิบายในตอนต่อ ๆ ไป
d. จากข้อมูลย้อนหลังเมื่อวิเคราะห์มาเป็น 3 บรรทัดสุดท้าย และที่เป็นจุดเด่นก็คือปี 1981 - 1988 หรือ 7 ปีก่อนวอร์เรนจะซื้อหุ้นของบริษัทโคคา-โคล่า บริษัทฯมีอัตราการเจริญเติบโตกำไรของเจ้าของ 17.8%
e. วอร์เรนจึงลดอัตราการเจริญเติบโตเหลือ 15% แล้วนำไปคาดคะเนกำไรของเจ้าของสำหรับ 10 ปีในอนาคต โดยเริ่มต้นที่ปี 1988 ที่บริษัทฯ มีกำไรของเจ้าของ 828 ล้านเหรียญ
เมื่อได้อัตราการเจริญเติบโตของบริษัทและวอร์เรนมั่นใจในธุรกิจนี้แล้วเขาจึงเริ่มคำนวณมูลค่าที่แท้จริง( หากเขาไม่มั่นใจหรือไม่เข้าใจในธุรกิจเขาจะไม่คำนวณมูลค่าของมัน )ตามขั้นต้อนดังนี้
เริ่มต้นบรรทัดที่ 1 ด้วยกำไรของเจ้าของ 828 ล้านเหรียญ คูณด้วยอัตราเติบโต 15% ในบรรทัดที่ 2 ได้กำไรจากการประมาณในบรรทัดที่ 3
- กำไรในบรรทัดที่ 3 เอาไปตั้งต้นในบรรทัดที่ 1 ของปีถัดไป ทำตามข้อ 1 จนได้กำไรโดยประมาณ 10 ปีในอนาคต
- ในอนาคตเงินจะด้อยค่าลงเขาจึงต้องทำให้เงินในอนาคตมีมูลค่าเป็นปัจจุบันในบรรทัดที่ 5( บรรทัดที่ 4 คือวิธีคำนวณเงินในอนาคตให้เป็นมูลค่าปัจจุบันจะกล่าวในบทต่อไป )
- หลังจากได้กำไรที่เป็นกระแสเงินสดในอนาคต 10 ปีแล้ว เขาจึงคำนวณมูลค่าหลักทรัพย์ในปีที่ 10 ได้ 87,930 ล้านเหรียญในบรรทัดที่ 12 ซึ่งเป็นมูลค่าในอนาคตเขาจึงทำให้เป็นมูลค่าปัจจุบันอีก ได้มูลค่าหลักทรัพย์ในบรรทัดที่ 14 เหลือ 37,143 ล้านเหรียญ( บรรทัดที่ 13 คือวิธีคำนวณเงินในอนาคตให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน )
- สุดท้ายเขานำ กำไรที่เป็นกระแสเงินสดทั้ง 10 ปีมารวมกันในบรรทัดที่ 6 และ รวมกับมูลค่าหลักทรัพย์ในปีสุดท้ายในบรรทัดที่ 14 ได้มูลค่าที่แท้จริง 48,393 ล้านเหรียญ เมื่อคุณด้วย Margin of Safety( ประมาณ 2/3 )แล้วราคาที่น่าสนใจอยู่ที่ต่ำกว่า 32,262 ล้านเหรียญ
- จาก Margin of Safety ของมูลค่าที่แท้จริงประมาณ 3.2 หมื่นล้านเหรียญ ในปี 1988-89 ที่เขาลงทุน มูลค่าตลาดของโคคา-โคล่ามีค่าเพียง 1.51 หมื่นล้านเหรียญ วอร์เรนลงทุนในกิจการนี้ประมาณ 1 พันล้านเหรียญ เขาเก็บหุ้นนี้ที่ราคาเฉลี่ย 10.96 เหรียญต่อหุ้น
- ในปี 1998 หุ้นของบริษัทโคคา-โคล่าซื้อขายกันที่ 88 เหรียญต่อหุ้น แปลว่า หุ้นที่วอร์เรนถือไว้เมื่อ 10 ปีก่อนมีมูลค่าเพื่มขึ้น 800%
- ย้อนกลับไปที่ปี 1988 วอร์เรนคำนวณมูลค่าปัจจุบันของบริษัทโคคา-โคล่าได้ที่ 4.8 หมื่นล้านเหรียญ แต่ 10 ปีถัดมามูลค่าตลาดของบริษัทซื้อขายกันที่ 1.2 แสนล้านเหรียญ
น้ำย่อยเต็มท้องแล้ว ต่อไปก็คงจะเป็นการเอาหลักการมาย่อยจริง ๆ เสียที ซึ่งหลักการที่จำเป็นต้องเข้าใจมีประมาณดังต่อไปนี้
- มูลค่าปัจจุบัน
- การคำนวณมูลค่าของหุ้นกู้และหุ้นสามัญ( ซึ่งจะต้องเอาความรู้เรื่องมูลค่าปัจจุบันมาใช้ )
- วิธีคำนวณมูลค่าของกิจการตามตัวอย่างข้างต้น( ซึ่งหนีไม่พ้นเรื่องมูลค่าปัจจุบันและการคำนวณมูลค่าหุ้นกู้หุ้นสามัญแน่ ๆ )
---------------------------------------------------
ลิงค์ไปบทอื่น ๆ
บทนำ
บทที่ 1 เรียกน้ำย่อย
บทที่ 2 มูลค่าอนาคตและมูลค่าปัจจุบัน
บทที่ 3 วิธีคำนวณมูลค่าหุ้นกู้,พันธบัตรและวิธีคำนวณมูลค่าหุ้นสามัญ
บทที่ 4 เงินปันผลกับความไม่สมเหตุสมผลในการคำนวณมูลค่าหุ้นสามัญ
บทที่ 5 กำไรสุทธิพระเอกจอมสับขาหลอก
บทที่ 6 กำไรของเจ้าของพระเอกตัวจริง
บทที่ 7 กำไรของเจ้าของบอกมูลค่าของกิจการ