บทที่ 4 เงินปันผลกับความไม่สมเหตุสมผลในการคำนวณมูลค่าหุ้นสามัญ

          จากสูตรการคำนวณมูลค่าหุ้นสามัญในบทที่ผ่านมา นักลงทุนคงเห็นแล้วว่าสูตรจากตำราเรียนใช้เงินปันผลเป็นตัวกำหนดมูลค่าหุ้นสามัญ การกำหนดเช่นนั้นก็เพื่อให้สอดคล้องกับหัวใจของการหามูลค่าหลักทรัพย์ซึ่งก็คือ”กระแสเงินสดตลอดอายุของหลักทรัพย์นั้น” เมื่อฟังดูผ่าน ๆ อาจจะรู้สึกสมเหตุสมผล แต่เมื่อพิจารณาดูดี ๆ กลับรู้สึกว่าสูตรในตำราเรียนเป็นการคำนวณหามูลค่ากิจการในอุดมคติ( ideal )เสียมากกว่า ลักษณะของกิจการในอุดมคติก็คือสามารถดำเนินธุรกิจแล้วมีกำไรแล้วสามารถจ่ายปันผลอย่างแน่นอนตลอดปีตลอดชาตินั่นเอง

          และเมื่อพิจารณาให้ลึกเข้าไปอีก สูตรเหล่านั้นคิดจากพื้นฐานที่ว่า”จ่ายปันผลได้ตลอดไปชั่วกัลปวสาน” ในขณะที่เงินปันผลควรจะเกิดจากส่วนหนึ่งของกำไรสุทธิ แต่ในความจริงเรากลับพบว่าหลาย ๆ ธุรกิจประกอบการไม่ได้กำไรแต่กลับจ่ายปันผลได้ทุกปี หรืออีกหลาย ๆ กิจการที่หมุนเงินกันไปมาจนเหมือนกับว่าไปกู้หนี้สินมาเพื่อจ่ายปันผลก็มี ซึ่งเหตุผลเหล่านี้เป็นการบ่งบอกว่าเงินปันผลไม่สะท้อนถึงความสามารถในการจ่ายผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว นี่แค่ระยะยาวยังไปไม่รอดแล้วจะมาให้เราถือหุ้นชั่วกัลปวสานอย่างนั้นหรือ

          หากมองในแง่ดีบ้างหลาย ๆ กิจการจ่ายเงินปันผลในปีแรก ๆ ไม่ดี อาจเนื่องมาจากต้องการนำกำไรสุทธิไปลุงทุนเพิ่ม เพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปกู้หนี้ก้อนโตมาให้เสียดอกเบี้ยแสนแพงบางปีอาจไม่ได้จ่ายเงินปันผลแต่ในที่สุดกิจการเหล่านี้กลับสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นได้อย่างงดงาม ตัวอย่างของกิจการประเภทนี้ได้แก่ บมจ.เบิร์กไชน์ ฮาเธอร์เวย์ ของคุณปู่วอเรน นั่นแหละ ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกว่าการจ่ายเงินปันผลไม่สามารถสะท้อนถึงความสามารถของกิจการได้นั่นเอง เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้วนักลงทุนแบบเน้นคุณค่าคงจะไม่เอาเงินปันผลมาเป็นบรรทัดฐานในการหามูลค่าของหุ้นสามัญอีกต่อไปใช่ไหมครับ


-----------------------

ลิงค์ไปบทอื่น ๆ


บทนำ

บทที่ 1 เรียกน้ำย่อย 

บทที่ 2 มูลค่าอนาคตและมูลค่าปัจจุบัน

บทที่ 3 วิธีคำนวณมูลค่าหุ้นกู้,พันธบัตรและวิธีคำนวณมูลค่าหุ้นสามัญ 

บทที่ 4 เงินปันผลกับความไม่สมเหตุสมผลในการคำนวณมูลค่าหุ้นสามัญ 

บทที่ 5 กำไรสุทธิพระเอกจอมสับขาหลอก 

บทที่ 6 กำไรของเจ้าของพระเอกตัวจริง 

บทที่ 7 กำไรของเจ้าของบอกมูลค่าของกิจการ