บทที่ 3 วิธีคำนวณมูลค่าหุ้นกู้,พันธบัตรและวิธีคำนวณมูลค่าหุ้นสามัญ

- หุ้นกู้และพันธบัตร-

          หุ้นกู้และพันธบัตรถือเป็นตราสารหนี้ ชื่อเรียกที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับผู้ออกตราสารนั้น ถ้าเป็นรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจออกตราสารหนี้จะเรียกตราสารนั้นว่า “พันธบัตร” แต่ถ้าเป็นบริษัทเอกชนออกตราสารหนี้ จะเรียกตราสารนั้นว่า “หุ้นกู้”

          ตราสารหนี้ก็คือสัญญากู้ยืมที่ผู้กู้ออกให้ผู้ให้กู้พร้อมระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการกู้ โดยปรกติรายละเอียดจะประกอบด้วยอัตราดอกเบี้ย( Coupon rate ) ,กำหนดเวลาจ่ายดอกเบี้ย,และกำหนดไถ่ถอน( Maturity date ) เมื่อถึงกำหนดไถ่ถอนผู้ถือตราสารจะได้รับเงินคืนตามมูลค่าที่ตราไว้( Par value หรือ Face value )อีกด้วย




          ย้ำอีกทีว่าตัวอย่างข้างต้นเป็นการแจกแจงกระแสเงินสดที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่การคำนวณมูลค่าของตราสารหนี้จะใช้มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดในแต่ละงวด เมื่อนำมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดในทุก ๆ งวดมารวมกันก็จะได้เป็นมูลค่าของตราสารหนี้นั่นเอง หรือถ้าจะพูดให้เป็นหลักการจะได้ว่ามูลค่าของตราสารหนี้คือ “ผลรวมของมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่เกิดขึ้นทั้งหมด”

          ในการทำกระแสเงินสดแต่ละปีให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน อัตราคิดลด( i )ที่นำมาใช้ในแฟคเตอร์ (1+i) ถือเป็นค่าอ้างอิงค่าหนึ่ง เราจะพิจารณาใช้อัตราผลตอบแทนที่เหมาะสมจากการลงทุนนั้น




ความรู้ในการคำนวณมูลค่าตราสารหนี้เป็นความรู้ขั้นพื้นฐาน แต่สำหรับนักลงทุนแบบเน้นคุณค่าความรู้เท่านี้คงจะพอเพียงสำหรับพื้นฐานการคำนวณมูลค่าที่แท้จริง ประเด็นสำคัญในบทนี้ก็คือการหามูลค่าของหลักทรัพย์หาได้จากมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั่นเอง

- หุ้นสามัญ-

          บทที่แล้วทำให้เราเห็นภาพของการหามูลค่าหลักทรัพย์ ซึ่งใช้หลักการสำคัญคือผลรวมของมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่เกิดขึ้นทั้งหมด หลักการนี้ถูกกล่าวถึงหลาย ๆ ครั้ง ซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันก็หมายความว่าหลักการนั้นคือหัวใจของการหามูลค่าที่แท้จริงนั่นเอง

          พอมาถึงตรงนี้มันก็เข้าใกล้วิธีการหามูลค่าที่แท้จริงของกิจการที่วอเรน บัฟเฟต์ใช้แล้ว แต่ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้นก็ต้องกลับไปศึกษาวิธีคำนวณมูลค่าหุ้นสามัญจากตำราเรียนเสียก่อน วิธีหามูลค่าหุ้นสามัญในตำราเรียนก็ยังคงใช้หัวใจการคำนวณมูลค่าหลักทรัพย์แบบเดียวกัน ซึ่งก็คือ “ผลรวมของมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่เกิดขึ้นทั้งหมด” คำว่าทั้งหมดสำหรับหุ้นสามัญก็คือตลอดอายุของหุ้นสามัญ ถ้ากิจการนั้น ๆ อยู่ได้ชั่วกัปชั่วกัลป์ก็แปลว่าตลอดอายุก็คือตลอดไปหรือ infinity นั่นเอง

          พอเห็นคำว่า infinity หลาย ๆ คนอาจจะเริ่มหวั่นไหว เพราะเมื่อเกิดการคำนวณแบบ infinity ย่อมต้องใช้วิชาแคลคูลัส แต่ความกลัวทั้งหลายก็คงมลายหายไปเพราะนักคณิตศาสตร์เขาใช้วิชาแคลคูลัสแทนเราไปหมดแล้ว แถมยังสรุปสูตรให้เหลือในรูปแบบนิพจน์ทางคณิตศาสตร์สั้น ๆ อีกด้วย

          ในตำราเรียนเขาแบ่งวิธีคำนวณมูลค่าหุ้นสามัญไว้หลัก ๆ 3 แบบ โดยมองว่ากระแสเงินสดที่เกิดขึ้นก็คือเงินปันผล( แต่วอร์เรนไม่มองแบบนั้นแน่ ๆ เพราะเงินปันผลมันขัดแย้งกับ infinity ซึ่งจะขยายความในบทต่อ ๆ ไป )ซึ่งวิธีคำนวณทั้ง 3 แบบคือ

          1. หุ้นสามัญของกิจการที่มีเงินปันผลคงที่
          2. หุ้นสามัญของกิจการที่มีเงินปันผลเติบโตในอัตราคงที่
          3. หุ้นสามัญของกิจการที่มีเงินปันผลเติบโตในอัตราไม่คงที่

1. หุ้นสามัญของกิจการที่มีเงินปันผลคงที่
          หุ้นสามัญของกิจการที่จ่ายเงินปันผลคงที่ทุก ๆ ปีมีวิธีการหามูลค่าดังนี้



          ปัญหาสำหรับนักลงทุนก็คือ ค่า i ที่เหมาะสมคือเท่าไหร่คำตอบแบบกำปั้นทุบดินก็คืออัตราผลตอบแทนที่เหมาะสม ซึ่งก็จะสร้างปัญหาต่อไปคือแล้วผลตอบแทนที่เหมาะสมคือเท่าไหร่ อย่างที่ได้กล่าวไว้ในบทก่อนว่า i คือค่าอ้างอิงบางคนอาจจะใช้ค่า i เปรียบเทียบผลตอบแทนกับตลาดหลักทรัพย์ บางคนอาจจะเปรียบเทียบกับผลตอบแทนที่ไม่มีความเสี่ยงซึ่งก็คือพันธบัตรรัฐบาล

          แต่ด้วยการเปรียบเทียบกับตลาดหลักทรัพย์บ้างหรือพันธบัตรรัฐบาลบ้าง การเปรียบเทียบนั้นอาจทำให้นักลงทุนบางคนกลายเป็นนักเก็งกำไรเลยก็ได้ ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้วนักลงทุนแบบเน้นคุณค่าต้องการหุ้นสามัญชั้นดีในราคาต่ำ ๆ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูง ๆ ต่างหาก เช่น นักลงทุนบางคนที่ขี้เหนียวหน่อยก็จะตั้งค่า i ไว้สูง ๆ เพื่อรอให้ถึงราคาต่ำ ๆ ซึ่งราคาต่ำ ๆ ก็เท่ากับว่าได้ผลตอบแทนสูง ๆ ซึ่งมันก็คือการเล่นกลับไปกลับมาระหว่างค่า P และค่า i นั่นเอง



2. หุ้นสามัญของกิจการที่มีเงินปันผลเติบโตในอัตราคงที่

          วิธีการหามูลค่าของหุ้นสามัญของกิจการที่จ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้นในอัตราคงที่ ยังคงอาศัยหลักการของมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถแจกและสรุปเป็นสูตรสำเร็จไดดังนี้ได้ดังนี้







3. หุ้นสามัญของกิจการที่มีเงินปันผลเติบโตในอัตราไม่คงที่

          ในความเป็นจริงธุรกิจจะเจริญเติบโตตามวัฏจักรช่วงแรก ๆ อาจจะเจริญเติบโตในอัตราสูงมาก ต่อมาอัตราการเจริญเติบโตก็ลดลงจนในที่สุดหยุดเติบโต การหามูลค่าหุ้นสามัญของธุรกิจแบบนี้ทำได้โดย

          1. แจกแจงกระแสเงินสดจากเงินปันผลออกเป็นงวด ๆ
          2. เมื่อถึงงวดที่อัตราการเติบโตของเงินปันผลคงที่ หรือ หยุดเติบโต หามูลค่าของหุ้นสามัญด้วยวิธีข้างต้น
          3. รวมมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจากข้อ 1 และ 2




          วิธีคำนวณมูลค่าหุ้นแบบสุดท้ายนี่แหล่ะที่วอเรน บัฟเฟตต์ใช้เป็นแนวคิดในการหามูลค่าของกิจการของ บริษัทโคคา-โคล่า ตามตัวอย่างในบทแรก ๆ แต่อย่างที่เคยได้กล่าวไว้ว่า วอเรน ไม่เห็นด้วยในการใช้เงินปันผลมาเป็นตัวกำหนดมูลค่ากิจการ แต่เพียงแค่นี้กลับไปดูตัวอย่างก็คงจะพอรู้เรื่องมากกว่าเดิม

 ----------------------------

ลิงค์ไปบทอื่น ๆ


บทนำ

บทที่ 1 เรียกน้ำย่อย 

บทที่ 2 มูลค่าอนาคตและมูลค่าปัจจุบัน

บทที่ 3 วิธีคำนวณมูลค่าหุ้นกู้,พันธบัตรและวิธีคำนวณมูลค่าหุ้นสามัญ 

บทที่ 4 เงินปันผลกับความไม่สมเหตุสมผลในการคำนวณมูลค่าหุ้นสามัญ 

บทที่ 5 กำไรสุทธิพระเอกจอมสับขาหลอก 

บทที่ 6 กำไรของเจ้าของพระเอกตัวจริง 

บทที่ 7 กำไรของเจ้าของบอกมูลค่าของกิจการ