บทที่ 2 มูลค่าอนาคตและมูลค่าปัจจุบัน 

       เมื่อเวลาผ่านไปเรื่อย ๆ เงินของเราก็มีค่าน้อยลงเรื่อย ๆ เช่นกัน การศึกษาเรื่องมูลค่าอนาคตและมูลค่าปัจจุบันก็เพื่อทำให้เราทราบว่าเงินสดที่เราถือในมือนี้ ในอนาคตจะมีค่าเท่าไร


       เพื่อให้มองเห็นภาพง่าย ๆ หากเราย้อนอดีตไปยังปี พ.ศ.2500 ขณะนั้นก๋วยเตี๋ยว 1 ชามราคา 50 สตางค์ ปัจจุบันปี พ.ศ.2552 เวลาผ่านมา 52 ปี ก๋วยเตี๋ยว 1 ชามราคา 30 บาท จะซื้อก๋วยเตี๋ยว 1 ชามมีเงินแค่ 50 สตางค์ก็ซื้อไม่ได้เสียแล้ว จะเห็นได้ว่าค่าของเงินเมื่อ 52 ปีก่อนมีมูลค่าลดลงไปอย่างมากเลยทีเดียว


       และถ้าจะสมมติให้โอเวอร์ขึ้นไปอีก สมมติว่าเมื่อปี พ.ศ.2500 นาย ก. และนาย ข. มีเงินคนละ 50 สตางค์ นาย ก.เอาเงินจำนวนนั้นหยอดกระปุกไว้ ส่วนนาย ข. เอาไปซื้อก๋วยเตี๋ยว"คงกระพัน"( ไม่มีวันบูด )แล้วเก็บไว้ เมื่อเวลาผ่านไป 52 ปี ถ้านาย ก. อยากกินก๋วยเตี๋ยว"คงกระพัน"ของนาย ข. นาย ก. ทุบกระปุกออกมา เงินของนาย ก. กลับไม่สามารถซื้อก๋วยเตี๋ยวจากนาย ข. ได้ ทั้ง ๆ ที่เมื่อ 52 ปีก่อนก็คือเงิน 50 สตางค์เท่ากัน จากกรณีนี้

เมื่อปี พ.ศ.2500
          ก๋วยเตี๋ยวของนาย ข.มีมูลค่าปัจจุบัน 50 สตางค์ มูลค่าอนาคต 30 บาท
          แต่เงินของนาย ก.มีมูลค่าปัจจุบัน 50 สตางค์ แต่มูลค่าอนาคตก็ยังคงเป็น 50 สตางค์เหมือนเดิม

       และถ้าสมมติว่านาย ก.สามารถหาเงิน 30 บาทมาซื้อก๋วยเตี๋ยว"คงกระพัน"ของนาย ข.ไปได้เท่ากับว่านาย ข.สามารถทำกำไรจากก๋วยเตี๋ยว"คงกระพัน"ได้ 29.50 บาท คิดเป็น 59 เท่า หรือ 5900% แล้วถ้าวันนั้น นาย ข.เอาเงิน 1 ล้านบาทไปลงทุนซื้อก๋วยเตี๋ยว"คงกระพัน"ล่ะ............... ปัจจุบันก็ อิอิอิอิ


       นอกเรื่องไปเยอะแล้ว เอาแค่พอให้เห็นภาพของการด้อยค่าของเงินก็พอ กลับมาเป็นวิชาการบ้าง ซึ่งทางวิชาการเรื่องของมูลค่าปัจจุบันและมูลค่าอนาคตจะซับซ้อนและน่างงมากกว่าเรื่องก๋วยเตี๋ยว"คงกระพัน"หลายเท่าตัวแน่ ๆ ตอนนี้ขอเริ่มที่มูลค่าอนาคตก่อน

       มูลค่าอนาคตของเงินจำนวนหนึ่ง คือการยืนที่ปัจจุบันแล้วมองจำนวนสุทธิของเงินก้อนเดิมในอนาคต เช่น มีเงิน 100 บาทเอาไปฝากธนาคารเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2552 สมมติธนาคารจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี เวลาผ่านไป 1 ปี พอถึงวันที่ 1 มกราคม 2553 เงินก้อนนี้จะกลายเป็น 102 บาท หมายความว่า ที่วันที่ 1 มกราคม 2552 มูลค่าอนาคต 1 ปีของเงิน 100 บาทเป็น 102 บาท แล้วถ้าฝากต่อไปหลาย ๆ ปี ก็คิดตามขั้นตอนแบบนี้



แฟคเตอร์สำคัญได้ใช้ในเรื่องต่อ ๆ ไปแน่นอน

       มูลค่าปัจจุบันของเงินจำนวนหนึ่ง คือการยืนที่ปัจจุบันเหมือนกันนี่แหล่ะ แล้วมองไปยังอนาคตถึงจำนวนเงินที่กำลังจะเกิดขึ้นด้วยอัตราผลตอบแทนหนึ่ง ๆ แล้วคำนวณกลับมาว่ามีมูลค่าที่ปัจจุบันเท่าไหร่ จากตัวอย่างเดิมเงินฝากธนาคารที่อัตราผลตอบแทน 2% เงิน 102 บาทที่จะเกิดขึ้นในปีหน้ามีมูลค่าปัจจุบันเป็น 100 บาท ตามขั้นตอนต่อไปนี้



       จบเรื่องมูลค่าปัจจุบันถ้ากลับไปพิจารณาตัวอย่างการเข้าลงทุนในบริษัท โคคา-โคล่าของวอร์เรน บัฟเฟต คงจะงงน้อยลง





 -----------------------

ลิงค์ไปบทอื่น ๆ


บทนำ

บทที่ 1 เรียกน้ำย่อย 

บทที่ 2 มูลค่าอนาคตและมูลค่าปัจจุบัน

บทที่ 3 วิธีคำนวณมูลค่าหุ้นกู้,พันธบัตรและวิธีคำนวณมูลค่าหุ้นสามัญ 

บทที่ 4 เงินปันผลกับความไม่สมเหตุสมผลในการคำนวณมูลค่าหุ้นสามัญ 

บทที่ 5 กำไรสุทธิพระเอกจอมสับขาหลอก 

บทที่ 6 กำไรของเจ้าของพระเอกตัวจริง 

บทที่ 7 กำไรของเจ้าของบอกมูลค่าของกิจการ